เมนูช่วยเหลือ

100%

(30 สิงหาคม 2566) นายชนาส ชัชวาลวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีลงนาม ความร่วมมือระหว่างผู้แทน 3 หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ชุมชน อำนาจเจริญ ได้แก่ นายชัยยงค์ ผ่องใส พัฒนาการจังหวัดอำนาจเจริญ นายสำรวย โพธิ์ไทรย์ ผู้อำนายการวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ และนายพรชัย สาโท โทรคมนาคมจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมี นางสมจิตต์ ธีระชุติกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจ ประชาชน เยาวชนในพื้นที่ชุมชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นกลไกสำคัญ

นายชนาส ชัชวาลวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า จังหวัดอำนาจเจริญ มีเป้าหมาย การพัฒนาจังหวัดมุ่งสู่การเป็น “เมืองธรรมเกษตร การเกษตรสร้างมูลค่าท่องเที่ยวเสริมสร้างสุขภาพ เชื่อมโยง เส้นทางการค้า” มีการพัฒนาจังหวัดด้วยการส่งเสริมและยกระดับการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรปลอดภัย อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์สมุนไพร การพัฒนาคน หมู่บ้าน ชุมชน ให้มีคุณภาพ มั่นคง เข้มแข็ง และทันสมัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติ ให้เป็นคนดี มีความรู้ คู่คุณธรรม มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้ และจากยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล ที่มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าในการผลิตกำลังคน สร้างพลังทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง

“ผลิตภัณฑ์สินค้าที่น่าสนใจของชุมชนอำนาจเจริญมีหลากหลาย อาทิ ผ้าไหม ผ้าสไบ ของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสร้อย / ผ้าขิดลายตะขอสลับเอื้อ (ลายผ้าประจำจังหวัดอำนาจเจริญ) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคำพระ / ผ้าฝ้าย ชุดสำเร็จรูป ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านตาดใหญ่ / เสื่อกก ผลิตภัณฑ์ของใช้ที่แปรรูปจากเสื่อกก ของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านนาหมอม้า / ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อินทรีย์ปลอดสารพิษ ของกลุ่มข้าวอินทรีย์นาหนองพี่ เป็นต้น ซึ่งโครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT จะช่วยสร้างโอกาสให้คนในชุมชนอำนาจเจริญ ได้เพิ่มขีดความสามารถ โดยใช้ประโยชน์จาก IT และ Social Media ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนต้นแบบในการใช้ไอซีทีสร้างเศรษฐกิจที่ดีต่อไปในอนาคต”

นางสมจิตต์ ธีระชุติกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club เป็นหนึ่งในนโยบาย ความรับผิดชอบต่อสังคมของ NT ที่มุ่งพัฒนาชุมชนให้สามารถ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ด้วยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดย NT เป็นแกนกลางให้การสนับสนุนความรู้ทักษะด้านไอซีทีและระบบเครือข่ายโทรคมนาคมเยาวชนและผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมอบรมในโครงการนี้จะได้รับความรู้และฝึกฝนในการนำสื่อสังคมออนไลน์มาช่วยส่งเสริมการทำการตลาดทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปูพื้นฐานให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นผู้ประกอบการยุค Digital ที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดย NT มุ่งหวัง ที่จะให้ชุมชนอำนาจเจริญก้าวไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งในการปรับประยุกต์ให้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนเอง และสามารถกระจายองค์ความรู้และวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป”

โครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้ว 81 แห่ง ชุมชนอำนาจเจริญ เป็นชุมชนในลำดับที่ 82 โดย NT ได้จัดอบรมทักษะด้านไอที พร้อมเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เยาวชนและผู้ประกอบการ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเท่าทันในยุคดิจิทัล อาทิ ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เทคนิคการถ่ายภาพนิ่ง การถ่ายวิดีโอ การทำสื่อออนไลน์ เทคนิคการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook YouTube TikTok รวมถึงการสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนการสร้างรายได้โดยการขายสินค้าด้วยระบบชื้อขายออนไลน์ TYC e-Commerce และการสาธิตให้ความรู้ผ่านนิทรรศการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล สู่การให้บริการเมืองอัจฉริยะ Smart City ด้วยระบบ Social Security โดยการใช้บริการผ่านระบบเสาอัจฉริยะสมาร์ทโพล (Smart Pole) ที่รวมหลากหลายบริการเข้าไว้ด้วยกันในเสาต้นเดียว เช่นระบบกล้องวงจรปิด ลำโพงระบบเสียงประกาศ อุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ สามารถควบคุมทุกระบบได้จากศูนย์กลาง ตอบโจทย์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City

(30 สิงหาคม 2566) นายชนาส ชัชวาลวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีลงนาม ความร่วมมือระหว่างผู้แทน 3 หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ชุมชน อำนาจเจริญ ได้แก่ นายชัยยงค์ ผ่องใส พัฒนาการจังหวัดอำนาจเจริญ นายสำรวย โพธิ์ไทรย์ ผู้อำนายการวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ และนายพรชัย สาโท โทรคมนาคมจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมี นางสมจิตต์ ธีระชุติกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจ ประชาชน เยาวชนในพื้นที่ชุมชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นกลไกสำคัญ

นายชนาส ชัชวาลวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า จังหวัดอำนาจเจริญ มีเป้าหมาย การพัฒนาจังหวัดมุ่งสู่การเป็น “เมืองธรรมเกษตร การเกษตรสร้างมูลค่าท่องเที่ยวเสริมสร้างสุขภาพ เชื่อมโยง เส้นทางการค้า” มีการพัฒนาจังหวัดด้วยการส่งเสริมและยกระดับการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรปลอดภัย อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์สมุนไพร การพัฒนาคน หมู่บ้าน ชุมชน ให้มีคุณภาพ มั่นคง เข้มแข็ง และทันสมัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติ ให้เป็นคนดี มีความรู้ คู่คุณธรรม มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้ และจากยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล ที่มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าในการผลิตกำลังคน สร้างพลังทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง

“ผลิตภัณฑ์สินค้าที่น่าสนใจของชุมชนอำนาจเจริญมีหลากหลาย อาทิ ผ้าไหม ผ้าสไบ ของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสร้อย / ผ้าขิดลายตะขอสลับเอื้อ (ลายผ้าประจำจังหวัดอำนาจเจริญ) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคำพระ / ผ้าฝ้าย ชุดสำเร็จรูป ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านตาดใหญ่ / เสื่อกก ผลิตภัณฑ์ของใช้ที่แปรรูปจากเสื่อกก ของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านนาหมอม้า / ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อินทรีย์ปลอดสารพิษ ของกลุ่มข้าวอินทรีย์นาหนองพี่ เป็นต้น ซึ่งโครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT จะช่วยสร้างโอกาสให้คนในชุมชนอำนาจเจริญ ได้เพิ่มขีดความสามารถ โดยใช้ประโยชน์จาก IT และ Social Media ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนต้นแบบในการใช้ไอซีทีสร้างเศรษฐกิจที่ดีต่อไปในอนาคต”

นางสมจิตต์ ธีระชุติกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club เป็นหนึ่งในนโยบาย ความรับผิดชอบต่อสังคมของ NT ที่มุ่งพัฒนาชุมชนให้สามารถ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ด้วยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดย NT เป็นแกนกลางให้การสนับสนุนความรู้ทักษะด้านไอซีทีและระบบเครือข่ายโทรคมนาคมเยาวชนและผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมอบรมในโครงการนี้จะได้รับความรู้และฝึกฝนในการนำสื่อสังคมออนไลน์มาช่วยส่งเสริมการทำการตลาดทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปูพื้นฐานให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นผู้ประกอบการยุค Digital ที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดย NT มุ่งหวัง ที่จะให้ชุมชนอำนาจเจริญก้าวไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งในการปรับประยุกต์ให้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนเอง และสามารถกระจายองค์ความรู้และวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป”

โครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้ว 81 แห่ง ชุมชนอำนาจเจริญ เป็นชุมชนในลำดับที่ 82 โดย NT ได้จัดอบรมทักษะด้านไอที พร้อมเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เยาวชนและผู้ประกอบการ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเท่าทันในยุคดิจิทัล อาทิ ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เทคนิคการถ่ายภาพนิ่ง การถ่ายวิดีโอ การทำสื่อออนไลน์ เทคนิคการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook YouTube TikTok รวมถึงการสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนการสร้างรายได้โดยการขายสินค้าด้วยระบบชื้อขายออนไลน์ TYC e-Commerce และการสาธิตให้ความรู้ผ่านนิทรรศการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล สู่การให้บริการเมืองอัจฉริยะ Smart City ด้วยระบบ Social Security โดยการใช้บริการผ่านระบบเสาอัจฉริยะสมาร์ทโพล (Smart Pole) ที่รวมหลากหลายบริการเข้าไว้ด้วยกันในเสาต้นเดียว เช่นระบบกล้องวงจรปิด ลำโพงระบบเสียงประกาศ อุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ สามารถควบคุมทุกระบบได้จากศูนย์กลาง ตอบโจทย์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City

ห้วข้อที่เกี่ยวข้อง :

(30 สิงหาคม 2566) นายชนาส ชัชวาลวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีลงนาม ความร่วมมือระหว่างผู้แทน 3 หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ชุมชน อำนาจเจริญ ได้แก่ นายชัยยงค์ ผ่องใส พัฒนาการจังหวัดอำนาจเจริญ นายสำรวย โพธิ์ไทรย์ ผู้อำนายการวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ และนายพรชัย สาโท โทรคมนาคมจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมี นางสมจิตต์ ธีระชุติกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจ ประชาชน เยาวชนในพื้นที่ชุมชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน พร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นกลไกสำคัญ

นายชนาส ชัชวาลวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า จังหวัดอำนาจเจริญ มีเป้าหมาย การพัฒนาจังหวัดมุ่งสู่การเป็น “เมืองธรรมเกษตร การเกษตรสร้างมูลค่าท่องเที่ยวเสริมสร้างสุขภาพ เชื่อมโยง เส้นทางการค้า” มีการพัฒนาจังหวัดด้วยการส่งเสริมและยกระดับการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรปลอดภัย อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์สมุนไพร การพัฒนาคน หมู่บ้าน ชุมชน ให้มีคุณภาพ มั่นคง เข้มแข็ง และทันสมัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติ ให้เป็นคนดี มีความรู้ คู่คุณธรรม มีศักยภาพในการดำรงชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้ และจากยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาล ที่มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าในการผลิตกำลังคน สร้างพลังทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง

“ผลิตภัณฑ์สินค้าที่น่าสนใจของชุมชนอำนาจเจริญมีหลากหลาย อาทิ ผ้าไหม ผ้าสไบ ของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสร้อย / ผ้าขิดลายตะขอสลับเอื้อ (ลายผ้าประจำจังหวัดอำนาจเจริญ) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคำพระ / ผ้าฝ้าย ชุดสำเร็จรูป ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านตาดใหญ่ / เสื่อกก ผลิตภัณฑ์ของใช้ที่แปรรูปจากเสื่อกก ของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านนาหมอม้า / ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อินทรีย์ปลอดสารพิษ ของกลุ่มข้าวอินทรีย์นาหนองพี่ เป็นต้น ซึ่งโครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT จะช่วยสร้างโอกาสให้คนในชุมชนอำนาจเจริญ ได้เพิ่มขีดความสามารถ โดยใช้ประโยชน์จาก IT และ Social Media ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนต้นแบบในการใช้ไอซีทีสร้างเศรษฐกิจที่ดีต่อไปในอนาคต”

นางสมจิตต์ ธีระชุติกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club เป็นหนึ่งในนโยบาย ความรับผิดชอบต่อสังคมของ NT ที่มุ่งพัฒนาชุมชนให้สามารถ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ด้วยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดย NT เป็นแกนกลางให้การสนับสนุนความรู้ทักษะด้านไอซีทีและระบบเครือข่ายโทรคมนาคมเยาวชนและผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมอบรมในโครงการนี้จะได้รับความรู้และฝึกฝนในการนำสื่อสังคมออนไลน์มาช่วยส่งเสริมการทำการตลาดทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปูพื้นฐานให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นผู้ประกอบการยุค Digital ที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดย NT มุ่งหวัง ที่จะให้ชุมชนอำนาจเจริญก้าวไปสู่การเป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งในการปรับประยุกต์ให้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนเอง และสามารถกระจายองค์ความรู้และวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป”

โครงการเพาะพันธุ์ดี NT Youth Club ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้ว 81 แห่ง ชุมชนอำนาจเจริญ เป็นชุมชนในลำดับที่ 82 โดย NT ได้จัดอบรมทักษะด้านไอที พร้อมเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เยาวชนและผู้ประกอบการ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเท่าทันในยุคดิจิทัล อาทิ ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เทคนิคการถ่ายภาพนิ่ง การถ่ายวิดีโอ การทำสื่อออนไลน์ เทคนิคการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook YouTube TikTok รวมถึงการสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนการสร้างรายได้โดยการขายสินค้าด้วยระบบชื้อขายออนไลน์ TYC e-Commerce และการสาธิตให้ความรู้ผ่านนิทรรศการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล สู่การให้บริการเมืองอัจฉริยะ Smart City ด้วยระบบ Social Security โดยการใช้บริการผ่านระบบเสาอัจฉริยะสมาร์ทโพล (Smart Pole) ที่รวมหลากหลายบริการเข้าไว้ด้วยกันในเสาต้นเดียว เช่นระบบกล้องวงจรปิด ลำโพงระบบเสียงประกาศ อุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ สามารถควบคุมทุกระบบได้จากศูนย์กลาง ตอบโจทย์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City

ห้วข้อที่เกี่ยวข้อง :

คุณชอบเว็บนี้ไหม?

วันนี้ให้เราช่วยอะไร?
NT ยิ้มรับ กสทช. ไฟเขียวถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม
ใช้เวลาอ่าน 2 นาที
อ่านให้ฟัง